วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับดัชนีราคาวัสดุในงานก่อสร้าง


บทคัดย่อ

ภาคนิพนธ์เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับดัชนีราคาวัสดุในงานก่อสร้าง  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับดัชนีราคาวัสดุในงานก่อสร้างและค่าชดเชยสำหรับสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยศึกษาข้อมูลของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นราคาในเขต กทม.และปริมณฑล ในส่วนของข้อมูลดัชนีราคาในงานก่อสร้างเป็นของกระทรวงพาณิชย์               
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับดัชนีราคาวัสดุในงานก่อสร้างเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานทะเบียนซึ่งมีการบันทึกข้อมูลไว้แล้วจากหน่วยงานราชการ จากนั้นทำการวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง                กับดัชนีราคาที่ใช้ในงานก่อสร้างในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และราคาที่มีการเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบกับเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นของปีงบประมาณ เพื่อนำมาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาของวัสดุก่อสร้างและค่าชดเชยสำหรับสัญญาแบบปรับราคาได้
จากผลการศึกษาพบว่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวมมีแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้น       และลดลงตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการเปลี่ยนแปลง 10% ทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น 12% ค่าชดเชยที่ได้รับ 3% ซึ่งต่ำกว่าราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นจริง 9%   
                 เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 20% ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น 20% แต่ได้รับค่าชดเชย 5%    ซึ่งต่ำกว่าราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นจริง 15%
                เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 30% ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น 25% แต่ได้รับค่าชดเชย 5%     ซึ่งต่ำกว่าราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นจริง 15%
                เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 40% ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น 25% แต่ได้รับค่าชดเชย 5%     ซึ่งต่ำกว่าราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นจริง 15%
                จากผลการศึกษายังพบว่าดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กมีแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นและลดลงตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุด  ดังนี้
เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 10% ทำให้ดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้น 26%
                เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 20% ทำให้ดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้น 31%
               
เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 30% ทำให้ดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้น 62%
เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 40% ทำให้ดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้น 68%             เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงเหลือ 30% ทำให้ดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงเหลือ 66%
                เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงเหลือ 20% ทำให้ดัชนีราคาราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงเหลือ 62%
เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงเหลือ 10% ทำให้ดัชนีราคาราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงเหลือ 60%

ต่อ บทที่ 1 ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น